วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Task - Base Instruction

 Task - Base Instruction
>>>>งานเป็นฐาน  ซึ่งใช้ในขั้นProduction  ผู้เรียนต้องใช้ตัวภาษาเพื่อทำงานให้สำเร็จ  การประเมินชิ้นงานแบบTask  Base คือจะเน้นตัวงานที่เสร็จมากกว่าการใช้ภาษาที่ถูกต้อง  เน้นให้นักเรียนใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วเพื่อให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น

Content-Base Instruction

เป็นวิธีการที่ครูจะสอนในแต่ละเนื้อให้  ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสอน

เป้าหมายหลัก
1.เนื้อหาวิชาอื่นจะถูกใช้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ภาษาด้วย
2.เน้นการใช้ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3.เมื่อผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมก็จะเป็นตัวกระตุ้นได้
4.ครูสอนแบบscaffold(จากง่ายไปยาก)  โดยให้นักเรียนสร้างประโยคแล้วครูจึง่วยเติมเต็ม
5.ภาษาจะรียนได้ดีก็ต่อเมื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักเรียน
6.คำศัพท์จะง่ายขึ้นเพราะมีการใช้ในบทความ
7.ถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องจริง  เขาต้องมีการช่วยเหลือของตัวภาษา
8.ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาและเนื้อหาโดยใช้สื่อของจริง
9.ความสามารถในการอ่าน  อภิปราย  และเขียน

Lersen-Freeman, D. (2000). Techniques  and  Principles  in  Language  Teaching.  Hong  Kong :  Oxford  University  Press.p. 137-141.

Communicative Language Teaching


>>>>เป็นหัวใจสำคัญในการสอนปัจจุบัน  จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาเป้าหมายในการสื่อสาร  เน้นการเรียนรู้โครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์

Communicative  competence(ใช้สื่อสารความรู้  ความเข้าใจ)
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางสังคม
3..มีความรู้ความเข้าใจในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคต่างๆ
4..มีความรู้ความเข้าใจในการใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร

ต้องมีลักษณะดังนี้
1.รู้ว่าจะต้องใช้ภาษาในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
2.รู้ว่าจะต้องใช้ในสถาการณ์แบบใด
3.เข้าใจเรื่องของบทความที่แตกต่างกันออกไป
4.เข้าใจเรื่องที่จะสื่อสารในขณะที่เรารู้อย่างจำกัด  โดยใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป

ลักษณะพิเศษของCLT
1.ให้บรรลุเป้าหมายของหัวใจสำคัญทั้งสี่อย่าง
2.ความสัมพันธ์ของform กับ function
3.เน้นการใช้ภาษาได้อย่าถูกต้องและคล่องแคล่ว
4.นึกถึงบริบทถึงสถานการณ์จริงของผู้เรียน : สื่อของจริง
5.ผู้เรียนรับผิดชอบงานต่างๆด้วยตัวเอง  ต้องเข้าใจและพัฒนากลยุทธ์ต่างๆ
6.ครูเป็นแค่ผู้ให้ความสะดวกและให้คำแนะนำ
7.บทบาทนักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนอย่างกระตือรือร้น

เป้าหมายหลัก
1.ให้เกิดการสื่อสารจริงๆให้ได้
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทดสอบ  ทดลองสิ่งที่ผู้เรียนรู้
3.ต้องอดทนกับความผิดพลาดของผู้เรียน  เพราะว่าการที่ผู้เรียนผิดพลาด  แสดงว่าเขากำลังสร้างcommunicative  competence
4.ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
5.เชื่อมโยงทักษาการพูด  อ่าน  ฟัง ให้สัมพันธ์กัน
6.ให้ผู้เรียนสรุปกฏเกณฑ์เอง  เรียนแบบอุปนัย


Community Language Learning

ครูต้องมองผู้เรียนททั้งหมด  คำนึงทั้งความรู้สึก  สติปัญญา  เข้าใจปฏิกิริยาภานอกที่อยู่ข้างใน  ซึ่งครูจะต้องเข้าใจในการเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างในการเรียนการสอนได้
                                     ครู  เป็นที่ปรึกษา              นักเรียน  เป็นผู้รับคำปรึกษา
    
เป้าหมายหลัก
1.ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้เข้ารับบริการ  ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา
2.มีความเข้าใจและสนับสนุน  ซึ่งมีความสำคัญมากในกระบวนการเรียนภาษา
3.ผู้เรียนอนุญาตให้ใช้ภาษาแม่ได้  ครูทำหน้าที่เป็นผู้แปล
4.ให้ดูตัวอย่างก่อน  เป็นการสอนแบบอุปนัย
5.คำพูดของผู้เรียนจะถูกบันทึกเอาไว้  ซึ่งคำพูดที่บันทึกเอาไว้จะต้องถอดเป็นภาษาแม่
6.นักเรยนพร้อมที่จะพูดภาษาเป้าหมายเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
7.ในท้ายของการเรียน  จะคุยกันเกี่ยวกับเนื้อหา  กระบวนการเรียน  ซึ่งครูจะต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจ
8.มีกิจกรรมหลากหลาย  เช่น  ไวยากรณ์เน้นการออกเสียง  การสร้างประโยคใหม่  หรือถอดบทสนนา

ขั้นตอนการสอน
1.ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม  มีไมโครโฟน  และตัวอัดเสียง
2.ฟังเสียงที่ได้อัดและถอดเทปออกมา
3.ฝึกบทสนทนาดังกล่าว  ผู้เรียนคิดประโยคใหม่
4.คุยแสดงความคิดเห็นกัน

เทคนิคการสอน
1.บันทึกบทสนทนาของผู้เรียน
2.ถอดเทปออกมา
3.สะท้อนผลการเรียนรู้
4.ให้ผู้เรียนฟังบทสนทนาของตัวเง
5.ครูช่วยผู้เรียนในการออกเสียง  และย้ำจนผู้เรียนเข้าใจ
6.ให้นักเรียนทำงานกลุ่ม

สุมิตรา  อังวัฒนกุล , 2539

Suggestopedia


>>>>เป็นการเรียนรู้ภาษาที่เกิดอัตราการเรียนรู้ได้เร็วกว่าการเรียนอื่นๆ  โดยธรรมชาติแล้วผู้เรียนมีอุปสรรคทางจิตวิทยา  เพื่อขัดขวางการเรียนรู้ของตนเอง  ซึ่งการที่เราจะช่วยให้ผู้เรียนให้เรียนได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์  คือ  ครูผู้สอนต้องมี suggestopedia  คือต้องทำลายอุปสรรคของผู้เรียน  โดยการก้าวข้ามอุปสรรค

เป้าหมายหลัก
1.บรรยากาศห้องเรียนสะดวกสบาย  มีความผ่อนคลาย
2.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โดยไม่รู้ตัวจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ 
3.ถ้านักเรียนเชื่อใจและเคารพในบทบาทของครู  ก็จะสามารถรับข้อมูลได้ดีขึ้น
4.ครูต้องพยายามกำจัดสิ่งที่ผู้เรียนสร้างขึ้นมา
5.ทำอย่างไรก็ได้ให้นักเรียนเกิดความมั่นใจ  เพราะยิ่งมั่นใจมากเท่าไหร่  ก็จะเรียนรูได้ดีมากเท่านั้น
6.ใช้ภาษาแม่ในการอธิบายให้เข้าใจ
7.ใช้ศิลปะต่างๆนำมาบูรณาการ
8.ต้องรับข้อผิดพลาาดต่างๆที่ผู้เรียนสร้างขึ้นได้

ขั้นตอนการสอน
1.นักเรียนสมมุติตัวเองเป็นคนใหม่  ชื่อใหม่  อาชีพใหม่
2.ครูสอนบทสนทนา  คำศัพท์  ไวยกรณ์
3.ครูอ่านบทสนทนาให้ฟังสองรอบ
   รอบที่1  ทำเสียงให้สอดคล้องกับเสียงดนตรี
   รอบที่2  อ่านเร็วกว่าปกติ  มีดนตรีประกอบการอ่าน  เด็กฟังตามสบาย
4.ให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่หลากหลาย  เช่น  ละคร  เกม

เทคนิคการสอน
1.ครูจัดบรรยากาศห้องเรียนให้มีความผ่อนคลาย 
2.ผู้เรียนเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เห็นในห้องเรียนโดยไม่ตั้งใจ
3.ผู้เรียนได้รับการแนะนำ
4.ผู้เรียนได้เห็นภาพ  ครูอาจจะวาดให้ดู
5.ผู้เรียนเลือกตัวตนใหม่
6.ใช้บทบาทสมมุติ
7.อ่านตามทำนองเพลง
8.ใช้กิจกรรมที่หลากหลาย

Total Physical Response (TRP)


>>>>ประเด็นหลัก  คือ  ผู้เรียนต้องเรียนภาษาแบบสนุกและมีความเครียดน้อยที่สุด  ซึ่งการเรียนภาษาได้ดีนั้นจะเกี่ยวกับสมองซีกขวามมากกว่าซีกซ้าย

ลักษณะพิเศษ
1.ครูทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ  นักเรียนเป็นนักแสดง   โดยใช้ท่าทางประกอบภาษานั้นๆ
2.เน้นทักษะการฟังและปฏิกิริยาท่าทางมากกว่าทักษะการพูด
3.เน้นใช้ประโยคคำสั่ง
4.ถ้ามีโอกาสครูจะต้องใส่มุกตลกไว้ด้วย
5.นักเรียนจะไม่ถูกบังคับให้พูดจนกว่าจะพร้อม
6.เน้นไวยากรณ์,คำศัพท์  ภาษาพูดจะเน้นมากกว่าภาษาเขียน

ขั้นตอนการสอน
1.ครูออกคำศัพท์เป็นภาษาเป้าหมาย  และทำให้ดู
2.ให้เด็กอาสา
3.เมื่อเด็กเข้าใจครูก็เพิ่มคำใหม่เข้ามา
4.เอาคำสั่งใหม่ที่เด็กไม่เคยได้ยินมาก่อน
5.เขียนคำสั่งบนกระดาน

เทคนิคการสอน
1..ใช้คำสั่ง
2.การสลับปรับเปลี่ยนบทระหว่างครูกับนักเรียน
3.มีการใช้คำสั่งเป็นลำดับ

The Silent Way

 The Silent Way
>>>>>>เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเรียนรู้และสร้างสรรค์ด้วยตัวเอง  ซึ่งการเงียบแสดงว่าผู้เรียนกำลังมีกระบวนการคิดอยู่

ขั้นตอนการสอน
1.สอนการออกเสียง  โดยใช้sound-color-chart
2.สอนการสร้างคำโดยใช้rods(เเท่งไม้สี่เหลี่ยม)
3.อ่านและเขียนประโยค

เทคนิการสอน
1.sound-color-chart
2.ครูเงียบ
3.ให้เพื่อนแก้ไขให้
4.แท่ไม้สี่เหลี่ยม
5.ใช้ท่าทางในการบอกใบ้
6.word  chart  คำที่มีสีแตกต่างกัน  ใช้สีแทนเสียงต่างๆ
7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ

The Audio Lingual Method (ALM)


ลักษณะพิเศษ
1.สื่อนำเสนอในรูปแบบบทสนทนา
2.เรียนแบบเข้มข้น เน้นท่องจำ
3.โครงสร้างถูกจัดเรียงแบบง่ายๆก่อน  เรื่องไหนที่เกี่ยวข้องกันก็สอนทีเดียวเลย
4.โครงสร้าไวยากรณ์สอนโดยการฝึกแบบซ้ำๆ(repetition)
5.ไม่อธิบายกฎเกณฑ์  สอนแบบอุปนัย
6.รู้คำศัพท์แบบจำกัด  ขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ
7.ใช้เครื่องมือเกี่ยวกับการฟังในการเรียนรู
8.ใช้ภาษาแม่น้อ
9.ครูจะพูดเสริมแรง
10.ต้องให้เด็กพูดแบบไม่ผิด
11.ใช้ภาษาให้สอดคล้องกับเนื้อหา

ขั้นตอนการสอน
1.ให้นักเรียนฟังบทสนทนา
2.นักเรียนพูดตามบทสนทนา
3.ฝึกพูดเป็นประโยค
4.ฝึกพูดแบบพร้อมกันทั้งห้อง,เป็นกลุ่ม,เป็นคู่,เป็นรายบุคคล
5.นำมาปรับเป็นบริบทของตัวเอง

เทคนิคการสอน
1.จดจำบทสนทนา
2.ฝึกจากหลังมาหน้า
3.ฝึกแบบซ้ำๆ
4.สอนแบบลูกโซ่  คือถามต่อไปเรื่อยๆ
5.เปลี่ยนคำศัพท์เป็นคำอื่นบ้าง
6.เปลี่ยประโยคเป็นประโยคบอกเล่า  ประโยคปฏิเสธ  ประโยคคำถาม
7.ฝึกการถาม-ตอบ
8.ฝึกออกเสียงคำที่ใกล้เคียง
9.เติมคำในบทสนทนาให้สมบูรณ์

The Direct Method (natural method)


นักปฏิรูปเชื่่อว่า :
1.ภาษาพูดมาก่อนที่จะเป็นภาษาพื้นฐาน
2.เชื่อในการสอนออกเสียง
3.ผู้เรียนจะต้องฟังตัวภาษาก่อนที่จะเห็นตัวภาษา
4.การสอนคำต้องอยู่ในรูปประโยค
5.ฝึกบริบทที่มีความหมาย
6.สอนแบบอุปนัย  ไม่แปล  และให้เด็กอธิบาย

The Grammar Translation Method

 The Grammar Translation Method
เป้าหมายหลัก
1.มีเป้าหมายในการเรียนรู้ภาษาจากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2.อ่านและเขียนได้(ไม่เน้นการฟัง-พูด)
3.สามารถเขียนคำศัพท์จากการอ่านบทความได้
4.สามารถเขียนเป็นประโยคพื้นฐานได้
5.มีความถูกต้องแม่นยำ
6.มีการสอนแบบนิรนัย  คือให้โครงสร้างต่างๆก่อนแล้วจึงให้ดูตัวอย่าง
7.สามารถใช้ภาษาแม่ในการเรียนการสอนได้

ประวัติโดยย่อของการสอนภาษา

 ประวัติโดยย่อของการสอนภาษา
>>>>>เริ่ม ต้นจากภาษาลาตินเมื่อ 500 ปีที่แล้ว  และในศตวรรณที่16  ก็เริ่มมีภาษาต่างๆเข้ามา  ได้แก่ ภาษาอังกฤษ  ภาษาฝรั่งเศส  และภาษาอิตาลี  ซึ่งในศตวรรษที่16  ถึง  ศตวรรษที่19  เน้นการสอนไวยากรณ์ การแปล  การฝึกเขียนประโยค  เรียกการสอนแบบนี้ว่า "grammar  schools"
>>>>>ในศตวรรษที่ 18  เริ่มที่จะเปลี่ยนแนวการสอนแบบทันสมัยขึ้น  ซึ่งจะเน้นการอ่านและการเขียนมากขึ้น
เป้าหมายหลัก
1.พัฒนาสติปัญญา  โดยเน้นการอ่านและการเขียน  เช่นการฝึกแปลประโยคให้เป็นภาษาเป้าหมาย
2.อ่านและเขียนได้ตรงตามเป้าหมาย(ไม่เน้นการพูดและการฟัง)
3.รู้คำศัพท์พื้นฐานโดยการเรียนในห้องหรือการท่องจำ
4.แปลประโยคให้เป็นภาษาได้อย่างถูกต้อง
5.เน้นความถูกต้องเป็นสำคัญ
6.สอนไวยากรณ์แบบบอกโครงสร้ามาก่อนแล้วตามด้วยประโยคตัวอย่าง  เรียกว่า  "Deductively"
7.มีวิธีการสอนโดยใช้ภาษาแม่



Richard, Jack  C.& Rogers, Theodore  S.  1989.  Approaches  and  Methods  in  Langage     Teaching. Cambridge: Cambridge  University  Press.